ฟิลเลอร์แท้เหมือนกัน แต่คนละหมอฉีดผลลัพธ์ก็เปลี่ยน ใครว่าฉีดฟิลเลอร์แท้มา แล้วจะพังไม่ได้ ผมเจอมาหลายเคสแล้วครับ ที่ฉีดฟิลเลอร์แท้มา แต่ว่าเทคนิคการฉีดของหมอแต่ละคนต่างกัน ที่ผมเคยเจอมา คือ ฉีดฟิลเลอร์แท้มา แต่ทำไมยังเป็นก้อนอันนี้ต้องมาหาสาเหตุกันครับ บางทีอาจจะเป็นการผิดชั้นผิวหนัง หรือมีปัจจัยอื่นๆ ซึ่งที่ผมเจอมาก็ได้ลองฉีดสลายดูก่อน หลายๆเคสใช้ฟิลเลอร์แท้แต่ฉีดสลายไม่หมดก็มี ยังคงเป็นก้อนอยู่ ตกค้างอยู่ ซึ่งอันนี้ต้องวิเคราะห์เป็นเคสบายเคสไปครับ
![]() |
เคสนี้ไปฉีดฟิลเลอร์จากคลินิกดังคลินิกหนึ่ง ก่อนหน้านั้นได้ศึกษาข้อมูลแพทย์ที่ฉีด ฟิลเลอร์ที่ใช้เป็นอย่างดี และไว้วางใจให้ดูแล แต่เมื่อไปฉีดฟิลเลอร์ใต้ตามากลับเป็นก้อน |
เนื่องจากแพทย์ที่ฉีดค่อนข้างฉีดในปริมาณที่เยอะเกินไป และฉีดผิดชั้นคือ ฉีดตื้นไป รวมถึงใช้ฟิลเลอร์ที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ หรือแข็งเกินไป จึงทำให้ใต้ตาเป็นก้อน หรือบวมนูนขึ้นมานั่นเองครับ หมอได้ใช้ตัวยาไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase:HYAL) ฉีดเพื่อสลายฟิลเลอร์ไป แต่ก็ไม่สามารถสลายได้หมด และยังเป็นก้อนอยู่เช่นเดิม แสดงว่า ฟิลเลอร์ที่ฉีดมาไม่ใช่ฟิลเลอร์ที่ผ่าน อย.
สาเหตุที่ทำให้ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน
1.ฉีดผิดตำแหน่ง เช่น มีร่องตื้นกลับฉีดลึก มีร่องลึกแต่กลับฉีดตื้น ฉีดแบบนี้ ก็ไม่สามารถตอบโจทย์คนไข้ครับ
2.การใช้ปริมาณฟิลเลอร์ที่ไม่เหมาะสม ฉีดเยอะเกินความจำเป็น ทำให้ไม่สวย และคนไข้อาจสิ้นเปลืองจำนวน CC โดยไม่ใช่เหตุ
3.การเลือกใช้ชนิดฟิลเลอร์ที่ไม่ตรงกับตำแหน่งที่ฉีด ฟิลเลอร์ที่มีขนาดของโมเลกุลความหนาแน่นสูง ควรฉีดในผิวชั้นลึก ถ้านำมาฉีดในผิวชั้นตื้นก็จะทำให้ฟิลเลอร์เป็นก้อนได้ เช่น ใช้ฟิลเลอร์ที่มีความแข็งและเหนียวค่อนข้างมาก นำมาใช้ฉีดบริเวณใต้ตา ฟิลเลอร์จึงจับตัวเป็นก้อนแข็งใต้ตาได้ครับ
4.แพทย์ขาดความชำนาญ แพทย์จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับฟิลเลอร์แต่ละชนิดที่นำมาฉีด รวมถึงโครงสร้างสรีระของมนุษย์ และศิลปะด้านการปรับรูปหน้า เพื่อให้คนไข้ได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่า และน่าพึงพอใจที่สุดครับ แพทย์ที่ขาดความรู้และประสบการณ์จะทำให้มีความเสี่ยงในการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนได้ หรือาจอันตรายได้มากกว่านั้นครับ
5.ใช้ฟิลเลอร์ปลอม ฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่สามารถสลายได้ ไม่มีประสิทธิภาพ และราคาถูก เมื่อเวลาผ่านไปจะจับตัวกันเป็นก้อน ไหลย้อยไม่เป็นทรง และที่สำคัญไม่มียาตัวไหนที่นำมาฉีดสลายฟิลเลอร์ปลอมได้ หากต้องการเอาออกต้องขูดออกหรือศัลยกรรมมผ่าตัดออกเท่านั้นครับ
1.ฉีดผิดตำแหน่ง เช่น มีร่องตื้นกลับฉีดลึก มีร่องลึกแต่กลับฉีดตื้น ฉีดแบบนี้ ก็ไม่สามารถตอบโจทย์คนไข้ครับ
2.การใช้ปริมาณฟิลเลอร์ที่ไม่เหมาะสม ฉีดเยอะเกินความจำเป็น ทำให้ไม่สวย และคนไข้อาจสิ้นเปลืองจำนวน CC โดยไม่ใช่เหตุ
3.การเลือกใช้ชนิดฟิลเลอร์ที่ไม่ตรงกับตำแหน่งที่ฉีด ฟิลเลอร์ที่มีขนาดของโมเลกุลความหนาแน่นสูง ควรฉีดในผิวชั้นลึก ถ้านำมาฉีดในผิวชั้นตื้นก็จะทำให้ฟิลเลอร์เป็นก้อนได้ เช่น ใช้ฟิลเลอร์ที่มีความแข็งและเหนียวค่อนข้างมาก นำมาใช้ฉีดบริเวณใต้ตา ฟิลเลอร์จึงจับตัวเป็นก้อนแข็งใต้ตาได้ครับ
4.แพทย์ขาดความชำนาญ แพทย์จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับฟิลเลอร์แต่ละชนิดที่นำมาฉีด รวมถึงโครงสร้างสรีระของมนุษย์ และศิลปะด้านการปรับรูปหน้า เพื่อให้คนไข้ได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่า และน่าพึงพอใจที่สุดครับ แพทย์ที่ขาดความรู้และประสบการณ์จะทำให้มีความเสี่ยงในการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนได้ หรือาจอันตรายได้มากกว่านั้นครับ
5.ใช้ฟิลเลอร์ปลอม ฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่สามารถสลายได้ ไม่มีประสิทธิภาพ และราคาถูก เมื่อเวลาผ่านไปจะจับตัวกันเป็นก้อน ไหลย้อยไม่เป็นทรง และที่สำคัญไม่มียาตัวไหนที่นำมาฉีดสลายฟิลเลอร์ปลอมได้ หากต้องการเอาออกต้องขูดออกหรือศัลยกรรมมผ่าตัดออกเท่านั้นครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น