วัยทอง คือ วัยที่มีการสิ้นสุดของการมีประจำเดือนอย่างถาวรเนื่องจากรังไข่หยุดการทำงาน และเป็นการหยุดความสามารถในการเจริญพันธุ์ โดยปกติจะนับเมื่อขาดประจำเดือนมาเป็นเวลาต่อเนื่องนาน 12 เดือนหรือ 1 ปี สำหรับหญิงไทย อายุเฉลี่ยที่จะเข้าสู่วัยทอง คือ อายุประมาณ 50 ปี แล้วอาการที่ส่งสัญญาณบ่งบอกว่ากำลังเข้าสู่วัยทองมีอะไรบ้างมาดูกันครับ
1. ประจำเดือนเริ่มมาไม่สม่ำเสมอ มาติดกัน หรือห่างจากกันมาก ทั้งนี้บางรายอาจมีเลือดออกผิดปกติ
2. ผิวพรรณเริ่มแห้ง ไม่เต่งตึง ไม่ชุ่นชื้น ดูแลยากกว่าเดิม
3. เริ่มส่งสัญญาณของโรคอ้วน เริ่มมีน้ำหนักมากขึ้นแต่ไม่เป็นสัดส่วนจากเดิม เพราะไขมันไม่ค่อยกระจายไปตามสัดส่วน แต่เมื่อฮอร์โมนตก ไขมันจะไปเป็นส่วนๆ เช่น ลงพุง และใบหน้า ทำให้ใบหน้าหย่อนคล้อย
4. เมื่อเริ่มวัยทองมีโกรทฮอร์โมนจะลดต่ำลงเรื่อย ๆ ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือบางรายอาจจะไม่มีการหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาเลยก็ได้ ทำให้ร่างกายเสียสมดุล การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็จะลดลง อ่อนแอลง เรียกว่า ฮอร์โมนตก
5. มีอารมณ์ที่หงุดหงิด ขี้น้อยใจ อารมณ์แปรปรวนง่าย ซึ่งนับเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรับมือ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เสียสุขภาพจิต และอาจส่งผลให้คนรอบข้างไม่เข้าใจ ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่าย
6. มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย กระดูกบางลง
7. ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้
2. ผิวพรรณเริ่มแห้ง ไม่เต่งตึง ไม่ชุ่นชื้น ดูแลยากกว่าเดิม
3. เริ่มส่งสัญญาณของโรคอ้วน เริ่มมีน้ำหนักมากขึ้นแต่ไม่เป็นสัดส่วนจากเดิม เพราะไขมันไม่ค่อยกระจายไปตามสัดส่วน แต่เมื่อฮอร์โมนตก ไขมันจะไปเป็นส่วนๆ เช่น ลงพุง และใบหน้า ทำให้ใบหน้าหย่อนคล้อย
4. เมื่อเริ่มวัยทองมีโกรทฮอร์โมนจะลดต่ำลงเรื่อย ๆ ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือบางรายอาจจะไม่มีการหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาเลยก็ได้ ทำให้ร่างกายเสียสมดุล การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็จะลดลง อ่อนแอลง เรียกว่า ฮอร์โมนตก
5. มีอารมณ์ที่หงุดหงิด ขี้น้อยใจ อารมณ์แปรปรวนง่าย ซึ่งนับเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรับมือ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เสียสุขภาพจิต และอาจส่งผลให้คนรอบข้างไม่เข้าใจ ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่าย
6. มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย กระดูกบางลง
7. ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้
1. อาหาร รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกอาหารที่มีประโยชน์ แคลเซียมสูง เพิ่มอาหารที่มีเส้นใย ดื่มน้ำมากๆ ลดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
2. อารมณ์ ควบคุมอารมณ์และฝึกการมองโลกในแง่บวก มีอารมณ์ที่แจ่มใสอยู่เสมอ
3. ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ 30 นาที
4. อนามัยเจริญพันธุ์ ตรวจสุขภาพประจำปี และเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ที่มะเร็งเต้านมเป็นประจำ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น